UNDERSTANDING KALI MAA: WHO IS KALI? WHAT DOES SHE STAND FOR?

การบูชาพระแม่กาลี



แท่น หิ้ง
หรือ โต๊ะบูชา ขององค์พระแม่กาลี ควรปูด้วย ผ้าสีแดงก่อน แล้วค่อยประดิษฐานรูปภาพหรือเทวรูปลงไป หากประดิษฐานในศาลหรือเทวาลัย ควรทาสีเทวาลัยด้านในให้เป็นสีแดงหรือสีดำ กระถางธูป ถ้าทาสีแดงหรือดำได้ก็ยิ่งดี

ตามตำราโบราณกล่าวไว้ว่า การบูชาพระแม่กาลี น้ำสีแดง ถือเป็นสิ่งสำคัญมากๆ (ใช้น้ำสมุนไพรสีแดงหรือน้ำหวานสีแดง) เนื่องจากสีแดงคือสีแห่งพลังที่มีการเคลื่อนไหว เป็นสีแห่งการกำเนิด มีความเร่าร้อน เป็นสีแห่งชีวิตที่สดใส ตลอดจนเปรียบได้ดั่งโลหิตของอสูรร้าย ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องนำมาถวายสังเวยแด่พระแม่กาลี ยังมีขนมที่ควรถวาย ถ้าหา ขนมสีแดง ได้ก็ดี หรือ ขนมลาดูป (ลัทดู) ขนมโมทกะ ที่ถวายพระพิฆเนศ ตลอดจน ดอกไม้สีแดง ทุกชนิด (ดอกกุหลาบแดง หรือดอกชบาแดง ก็จัดหาได้สะดวกในเมืองไทย)

ธูปหอม กำยาน น้ำมันหอมระเหย สามารถจัดหากลิ่นใดก็ได้ แต่ที่แนะนำก็จะเป็นกลิ่นจันทน์ น้ำมันอบเชย น้ำมันกระดังงา และการบูร

ที่อินเดีย โดยเฉพาะในเมืองกัลกัตตา เมืองที่มีผู้บูชาลัทธิพระแม่กาลีมากที่สุดในโลก ผู้บูชามักสังเวยพระแม่ด้วยเลือดแพะ น้ำสีแดง ขนมสีแดง ถวายอาหารคาว (เป็นเทพองค์เดียวของฮินดูที่ถวายเนื้อสัตว์อาหารคาวได้) เนื้อสัตว์ทั้งปรุงสุกและกึ่งสุกกึ่งดิบ แต่ดิบๆเลยไม่ได้ ถวายเนื้อสัตว์ต้มสุกได้ แต่ห้ามถวายเนื้อวัวเนื้อควาย ควรใช้เนื้อไก่เนื้อเป็ด


เจ้าแม่กาลี เทวีผู้มีสภาวะอันน่าสะพรึงกลัว ดุดัน และเกรี้ยวกราด
image from photobucket.com

ถ้าถวายอาหารคาว ควรมีเหล้าถวายด้วย
แต่ถ้าถวายเพียง ขนม ก็ไม่จำเป็นต้องมีเหล้า

ถ้าผู้บูชาเลือกที่จะถวายขนม นม น้ำแดง ก็ประดิษฐานพระแม่กาลีร่วมโต๊ะหรือหิ้งเดียวกันกับเทพองค์อื่นๆของฮินดูได้
แต่ถ้าเลือกที่จะถวายอาหารคาวและเนื้อสัตว์ด้วย ก็ควรจะแยกหิ้งออกมาต่างหาก เนื่องจากเทพองค์อื่นๆไม่โปรดเนื้อสัตว์

ขั้นตอนที่ละเลยไม่ได้เลยก็คือ
การสวดบูชาสรรเสริญพระแม่กาลีด้วยมนต์ที่ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ
และการทำสมาธิทุกวัน วิธีที่เหมาะสมคือ การประกอบ "ปราณยาม" หรือการทำสมาธิด้วยการหายใจเข้า-ออกโดยลากให้ยาวสุด เข้าสุด-ยาวสุด เป็นระยะเวลาที่เท่าๆกันสม่ำเสมอทุกวัน ควรถือศีลอดบ้างเป็นครั้งคราวเพื่อถวายแด่พระองค์ (นำเนื้อสัตว์ถวายแก่พระแม่แล้วเราทานมังสวิรัติแทน เพื่อเป็นการแสดงให้พระองค์เห็นถึงความศรัทธาและจงรักภักดีที่เรามีต่อท่าน)

เทศกาลที่สำคัญคือ มหากาลีบูชา (Maha Kali Puja)
ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 (เช็คดูวันในปฏิทินให้ตรงกันได้ด้วยตนเอง)
เป็นวันแห่งการบวงสรวงพระแม่กาลี
ผู้ศรัทธาจะกระทำการจัดถวายเครื่องสังเวยชุดใหญ่
และทำการภาวนามนต์บูชาพระองค์ สวดสรรเสริญตลอดวันตลอดคืน